fbpx

People

Our collaborators

PROCESSOR / CONNECTOR

เอก

‘เอก-เฮงศรีธวัช’ คือชาวกรุงเทพฯ ผู้ที่เปลี่ยนบทบาทจากการเป็น Barista ที่อยู่เกือบจะสุดปลายสายพานกาแฟ มาเป็น Processor และ Connector เดินทางขึ้นดอยสามหมื่น อำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อทำงานใกล้ชิดกับคนต้นทางอย่างพี่ๆ เกษตรกาแฟ แม้เอกจะไม่ใช่ชาวบ้านดอยสามหมื่นแต่กำเนิด แต่เราเชื่อว่าประสบการณ์ 10 ปีที่เอกทำงานร่วมกับเกษตรกาแฟข้างบนนั้น จะช่วยให้เรารู้จักเรื่องราวของแหล่งปลูกกาแฟเก่าแก่อย่างดอยสามหมื่นมากขึ้น Mr.Roots: จากบาริสต้าในเมือง เอกเริ่มต้นทำงานบนดอยสามหมื่นได้ยังไง เอก: ด้วยความที่เราเป็นเด็กกรุงเทพฯ อยากเห็นไร่กาแฟ เลยให้รุ่นพี่คนหนึ่งที่เขาซื้อขายเมล็ดกาแฟแนะนำว่าควรไปที่ไหนดี เขาก็แนะนำดอยสามหมื่น พอได้เบอร์ติดต่อคนทำไร่กาแฟมาก็ติดต่อยากมาก โทรไม่ติดเพราะบนนั้นไม่มีสัญญาณโทรศัพท์ แต่เราก็มีความพยายามที่จะโทรอยู่ ใช้เวลาเกือบปีได้ จนมีอยู่วันหนึ่งที่โทรติด เพราะเขาลงจากดอยมาซื้อของในเมือง พอได้คุยก็ได้ทราบว่าเขาปลูกกาแฟมาตั้งแต่รุ่นพ่อแม่ ตอนขึ้นไปเที่ยวก็ชอบบรรยากาศ แล้วบ้านเขาค่อนข้างเป็นศูนย์กลางของหมู่บ้าน รับซื้อเชอร์รี่กาแฟของหมู่บ้านทั้งหมด เราก็เริ่มคุยกันว่าอยากเอากาแฟของเขามาให้คนอื่นได้รู้จัก  ตอนนั้นเราเริ่มมีความรู้เรื่อง CQI ด้วย ก็เอาความรู้นี้ไปพัฒนาวิธีการผลิตกาแฟ เพราะวิธีการที่เขาใช้ยังเป็นวิธีดั้งเดิมอยู่ เช่น เก็บเชอร์รี่แบบรูดทั้งกิ่ง ทำให้มีเชอร์รี่สีเขียวปนเยอะ การตากก็ตากกับพื้นหรือโรงนา บ่อหมักเป็นบ่อซีเมนต์กลมๆ ไม่ได้เป็นบ่อเหลี่ยมมาตรฐานแบบบ่อหมักทั่วไป  Mr.Roots: ปีแรกของการทำงานเจออุปสรรคอะไรบ้าง เอก: ปีแรกๆ ก็มีอุปสรรคค่อนข้างเยอะ เราจัดประชุมหมู่บ้าน […]

FARMER

นาวิน

เกือบ 10 ปีแล้วที่ ‘นาวิน’ เกษตรกรและนักแปรรูปกาแฟจากดอยช้าง แหล่งปลูกที่มีการปลูกกาแฟมากที่สุดในพื้นที่ภาคเหนือคนนี้ รับช่วงต่อดูแลไร่และธุรกิจกาแฟต่อจากคุณปู่และคุณพ่อ แม้ในวันนั้น นาวินจะกระโดดเข้ามาทำธุรกิจกาแฟโดยสเกลความรู้เท่ากับศูนย์ แต่ก็ด้วยสายตาที่มองว่ากาแฟเป็นส่วนหนึ่งของครอบครัว ทำให้นาวินรักที่จะเรียนรู้เรื่องกาแฟตั้งแต่เรื่องง่ายๆ ไปยังเรื่องยากๆ ได้เจอจุดที่รู้สึกเอนจอยที่สุดอย่างการทดลองแปรรูปกาแฟสเกลเล็กๆ (micro lot) ด้วยวิธีน่าสนใจที่คนในวงการกาแฟแนะนำ และวิธีแปลกใหม่ที่เจ้าตัวเริ่มต้นไอเดียขึ้นมาเอง! ทั้งความทุ่มเท ใจที่เปิดกว้าง และความกล้าที่จะลองอะไรแปลกใหม่ของเกษตรกรรุ่นใหม่อย่างนาวิน เป็นแรงกำลังสำคัญที่ทำให้คนที่อยู่เกือบสุดปลายสายพานกาแฟแบบเรารู้ว่า งานของเรานี้มีความหมายต่อพวกเขามากเพียงใด Mr. Roots: พอโควิด-19 เข้ามา ทั้งงานในไร่และโรงแปรรูปกาแฟของนาวินเจอผลกระทบอะไรบ้าง นาวิน: ที่เป็นปัญหาที่เจอปัจจุบันเลยคือปัญหาแรงงานไม่พอครับ ตอนเก็บเชอร์รี่ที่ไร่ผมใช้จำนวนคนงานเยอะพอสมควร ซึ่งปกติเราจะขับรถไปรับชาวบ้านจากหมู่บ้านใกล้ๆ ที่เขาไม่ได้ปลูกกาแฟ พอเกิดโรคระบาดปุ๊บ ต่างคนต่างกลัวกัน เราเองก็ไม่กล้าไปรับ เขาเองก็ไม่กล้ามา จะแก้ยังไงอันนี้ก็ยังคิดไม่ตกเหมือนกัน แต่ในส่วนของการขายสารกาแฟ ผมว่าโควิด-19 ทำให้กาแฟไทยเราขายในประเทศได้ดีมากขึ้น ส่วนหนึ่งน่าจะเพราะกาแฟนอกเข้ามาได้ยากขึ้นนะครับ หรือถ้าไม่เกี่ยวกับโรคระบาด ผมคิดว่าปีนี้ไร่ผมน่าจะเจอเรื่องของฝนครับ พยากรณ์อากาศระยะยาวของปีนี้คือ ฝนจะอยู่กับเรายาวมาก อาจยาวไปถึงเดือนพฤษจิกายน ฉะนั้นสิ่งที่จะมีปัญหาแน่ๆ คือการตากกาแฟ หรืออย่างผลเชอร์รี่ที่ยังติดอยู่กับต้น พอเจอฝนแล้วเม็ดเขาจะแตกและร่วงลงไปครับ Mr. Roots: กรณ์ชอบเล่าให้พวกเราฟังว่า นาวินเป็นคนที่พอเสนอไอเดียทดลองอะไรไป นาวินจะลงมือทำเลยทันที […]

PRODUCER

พี่เคเลบ

หากคุณได้ติดตามสีสันในวงการกาแฟไทยตลอดหลายปีที่ผ่านมา เชื่อว่าชื่อของเคเลบ จอร์แดน หรือ ‘พี่เคเลบ’ ผู้ผลิตกาแฟและเจ้าของโรงคั่ว Gem Forest จากดอยมณีพฤกษ์ ที่นำกาแฟสายพันธุ์พิเศษอย่าง Geisha มาปลูกบนดอยที่น่านคนแรกคนนี้ ต้องเคยผ่านหูผ่านตาคุณมาแล้วแน่ๆ แม้ลุคของพี่เคเลบดูเป็นฝรั่ง แต่ความจริงแล้วเขาคือคนไทยหนึ่งร้อยเปอร์เซ็นต์ ครอบครัวของพี่เคเลบเป็นมิชชันนารี ตั้งแต่เกิดจนโต เขาใกล้ชิดกับคนชนเผ่าปรัยในจังหวัดน่าน ในวัยหัวเลี้ยวหัวต่อ พี่เคเลบบินไปเรียนมหา’ลัยที่อเมริกา จากนั้นก็ได้ทำงานในโรงคั่วกาแฟของโบสถ์ที่ตัวเองตั้งใจไปเรียนพระคัมภีร์ ความอยากรู้เกี่ยวกับศาสตร์การคั่วกาแฟในตอนนั้น คือจุดเริ่มต้นที่ทำให้พี่เคเลบมองเห็นโอกาสในการใช้พลังของ ‘กาแฟ’ มาเปลี่ยนแปลงชีวิตคนที่บ้านเกิด 17 คือจำนวนปีที่พี่เคเลบคลุกคลีอยู่กับกาแฟ และใช้มันเป็นเครื่องมือสร้างอาชีพที่ยั่งยืนให้กับเกษตรกรเกือบ 20 แหล่งปลูกในภาคเหนือ ในฐานะคนทำกาแฟที่เป็นที่รู้จัก ทำให้เขาอยากจะตั้งใจทำอะไรเพิ่มขึ้นบ้าง ตามไปฟังเจ้าตัวเล่ากัน Mr. Roots: กาแฟมีความหมายสำหรับพี่เคเลบยังไงบ้าง พี่เคเลบ: สำหรับผม กาแฟคือเครื่องมือที่จะช่วยเหลือคนได้ เป็นสิ่งที่จะช่วยพัฒนาชีวิตคน มีโอกาสดีขึ้น มีอาชีพอยู่ที่หมู่บ้าน เป็นเครื่องมือแสดงความรักให้กับคนในชุมชน แต่ถ้าส่วนตัวขึ้นมาหน่อย ผมชอบที่กาแฟมีความซับซ้อนมาก ศึกษาเท่าไหร่ก็ไม่มีวันเข้าใจหมด พอเราเรียนรู้เรื่องหนึ่งก็มีอีกห้าเรื่องมาให้เราสงสัย ยิ่งผมเป็นคนที่ชอบศึกษาหาคำตอบและทดลอง กาแฟก็เลยเป็นแหล่งความสนุกสนานทางความคิด ให้ได้ทดลองไอเดียใหม่ๆ และท้าทายตัวเอง Mr. Roots: การทำงานในปีนี้อยากโฟกัสไปที่อะไร พี่เคเลบ: […]

PROCESSOR

พี่ชาตรี

ถ้านับมาถึงวันนี้ กว่า 8 ปีแล้วที่สายตาของ ‘พี่ชาตรี’ มองผลผลิตที่เคยถูกทิ้งขว้างอย่างกาแฟเป็นเครื่องมือที่ใช้เปลี่ยนแปลงชีวิตการเป็นอยู่ของครอบครัว รวมถึงเหล่าเกษตรกรเพื่อนบ้าน “กาแฟเป็นทุกอย่างของขุนช่างเคี่ยน เราเกิดและเติบโตในวงจรเกษตรกรรม เราใช้สารเคมีแต่มันกลายเป็นว่าชีวิตเราถอยหลังด้วยซ้ำ กาแฟมันอยู่ของมันตรงนั้นมานาน พอปัดฝุ่นขึ้นมา มันทำให้เห็นว่า จริงๆ แล้วชีวิตของขุนช่างเคี่ยนก็คือกาแฟเนี่ยแหละ กาแฟทำให้เรามีป่าและส่งต่อมันไปยังลูกหลานเราได้” สำหรับเราแล้ว ‘ขุนช่างเคี่ยน’ คือหนึ่งในแหล่งปลูกที่ช่วยผลักดันให้กาแฟพิเศษไทยกลายเป็นที่รู้จักในวงกว้างมากขึ้น และความตั้งใจของคนทำกาแฟรุ่นใหม่อย่างพี่ชาตรี พิสูจน์ให้เราเห็นว่ากาแฟที่ดี ไม่ได้เกิดขึ้นจากความพิถีพิถันเท่านั้น แต่ความกล้าที่จะเปลี่ยน กล้าที่จะทำสิ่งใหม่ๆ ก็เป็นองค์ประกอบที่สำคัญไม่แพ้กันเลย Mr. Roots: ก่อนกลับมาพัฒนากาแฟที่บ้าน พี่ชาตรีเคยทำอะไรมาก่อน พี่ชาตรี: ก่อนหน้าที่จะทำกาแฟผมเคยเป็นลูกจ้างศูนย์บริการท่องเที่ยว เป็นลูกจ้างร้านขนมในนิมมานฯ และเคยขายประกัน ช่วงที่ทำอาชีพนี้ผมก็ได้ตกผลึกกับแนวคิดที่ว่า มนุษย์ทุกคนถูกสร้างมาให้แตกต่าง พอชีวิตเดินทางมาถึงจุดหนึ่ง เราจะเจอจุดที่เรามีความสุขกับความพอดีเอง ผมก็เลยตัดสินใจกลับมาที่ขุนช่างเคี่ยน ตอนแรกๆ ก็ทำทุกอย่างที่เป็นการเกษตร Mr. Roots: เหมือนจับผลัดจับผลูทำหลายอย่างมาก แล้วมาลงเอยที่กาแฟได้ยังไง พี่ชาตรี: ต้นกาแฟมันเป็นสิ่งที่มีอยู่ในสวนของเราอยู่แล้ว เลยอยากลองแปรรูปเชอร์รี่กาแฟที่ตัวเองมีดู สองปีแรกก็ทำแบบไม่ได้คิดอะไรเลย จนกระทั่งได้เจอกับกลุ่มพี่ๆ ในวงการกาแฟคุยกันเรื่องกาแฟพิเศษ แล้วก็ได้เรียนรู้ว่า มันเป็นวิธีการแปรรูปที่ช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสารกาแฟ หลังจากนั้นก็พยายามหาความรู้ว่ากาแฟพิเศษเขาทำกันยังไง เข้าร่วมทุกกิจกรรมที่เกี่ยวกับกาแฟ เริ่มคุยกับคนที่แปรรูปกาแฟในโพรเซสแปลกๆ […]

FARMER

หนุ่ยและอ้อย

‘หนุ่ยและอ้อย’ คือคู่รักนักแปรรูปกาแฟจากบ้านปง อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ หนึ่งในคนต้นทางกลุ่มแรกๆ ที่พวกเราร่วมทำงานด้วยอย่างจริงจัง ย้อนกลับไปเมื่อราวๆ 10 ปีที่แล้ว ก่อนที่ทั้งคู่จะเริ่มต้นทำกาแฟ หนุ่ยเคยเป็นหนุ่มวิศวกรที่ต้องเดินทางขึ้นเหนือล่องใต้อยู่บ่อยครั้ง แต่หลังจากเริ่มต้นชีวิตคู่กับอ้อย หญิงสาวที่รู้จักกันมาเนิ่นนานตั้งแต่สมัยเรียน ทั้งคู่ตัดสินใจย้ายกลับมาปักหลักที่บ้านเกิด ด้วยความตั้งใจที่อยากจะสร้างครอบครัวที่มั่นคง ร่วมด้วยความฝันที่อยากแปรรูปกาแฟ ผลผลิตจากฟาร์มดั้งเดิมของครอบครัวให้มีคุณภาพดีมากขึ้น นับแต่นั้น อาชีพนักแปรรูปกาแฟที่ช่วยให้พวกเขาได้มีเวลาอยู่บ้านมากขึ้น จึงกลายเป็นสิ่งที่หนุ่ยและอ้อยฝากความหวังเอาไว้ มาทำความรู้จักสองนักแปรรูปที่เชื่อว่า ‘กาแฟ’ เป็นทั้งความสนุกและเป็นสิ่งที่ช่วยเติมเต็มความสมบูรณ์ให้กับครอบครัว ผ่านบทสนทนาด้านล่างนี้กัน Mr. Roots: เพราะอะไรการผลิตกาแฟถึงกลายมาเป็นแพสชั่นของคุณในตอนนั้น หนุ่ย: น่าจะเป็นเพราะเราอยากทำให้อาชีพเกษตรกรเป็นอาชีพที่ยั่งยืนขึ้น และเรารู้ว่าการจะได้กาแฟแต่ละแก้ว มันต้องผ่านขั้นตอนมากมาย ซึ่งขั้นตอนพวกนี้ไม่สามารถให้ผลลัพธ์ที่ดีได้ถ้าเราไม่ใส่ความตั้งใจลงไปด้วย และถ้าในขั้นตอนนั้นเราทำได้ดีมากๆ ผลที่ได้ก็จะยิ่งเจ๋งมากขึ้นไปอีก เรารู้สึกว่าถ้ายิ่งทำมาก เราก็ยิ่งได้เรียนรู้มากขึ้น ไม่ว่าจะด้วยการศึกษาหาข้อมูล ทดลองเทคนิคใหม่ๆ และการแลกเปลี่ยนความเห็นกับคนอื่นๆ อ้อย: ทุกวันนี้เราพยายามศึกษาความต้องการของลูกค้าในประเทศมากขึ้น ด้วยวิธีการติดตามร้านกาแฟหลายๆ ร้าน คุยกับร้านต่างๆ แถวบ้านเรา หรือการที่มีลูกค้าสอบถามว่าอยากได้กาแฟตัวนั้นตัวนี้ เรามีหรือเปล่า อันนี้ก็ช่วยให้เราเดาทางได้ว่าตลาดกาแฟโดยรวมตอนนี้ต้องการกาแฟแบบไหนกัน อย่างตอนนี้ ส่วนใหญ่ยังเป็นกาแฟแบบ washed ที่เราสามารถผลิตได้ทีหนึ่งเยอะๆ หรือเป็นแบบ micro lot […]

PROCESSOR

โทกิ

แม้โทกิจะเริ่มแปรรูปกาแฟจริงจังได้เพียง 3 ปี แต่ตลอดเวลาแห่งการลองผิดลองถูก สั่งสมประสบการณ์ และเก็บเกี่ยวความรู้เกี่ยวกับการทำกาแฟ โทกิยังเลือกที่จะให้ความสำคัญกับการแชร์สิ่งที่ตัวเองมีโอกาสได้รู้ให้ฟาร์มเมอร์กาแฟคนอื่นๆ ในบ้านขุนแม่รวมด้วย

PROCESSOR

อาเทน

อุเทน สมบูรณ์ค้ำชู หรือ “อาเทน” หนุ่มกราฟิกดีไซเนอร์ผู้หลงใหลเรื่องราวของกาแฟตั้งแต่สมัยเรียนปริญญาตรี โดยเฉพาะการหยิบผลเชอร์รี่กาแฟจากสวนหลังบ้านของชาวแม่แดดน้อย อำเภอกัลยานิวัฒนา จังหวัดเชียงใหม่ มาแปรรูปด้วยวิธีการที่เหมาะสมกับพื้นที่แล้งน้ำอย่าง natural process และ wet hulling เปลี่ยนต้นทุนที่ตัวเองเคยมองข้ามให้กลายเป็นอีกหนึ่งอาชีพหลักที่ตัวเองภาคภูมิใจ นักแปรรูปกาแฟรุ่นใหม่คนนี้ไม่เพียงแต่สนุกกับการเรียนรู้และทดลองวิธีการแปรรูปกาแฟใหม่ๆ เท่านั้น ในใจลึกๆ ก็หวังด้วยว่าในอนาคตข้างหน้า กาแฟจะเป็นอีกหนึ่งเครื่องมือที่ช่วยให้ชาวแม่แดดน้อยมีรายได้และชีวิตที่ยั่งยืนมากขึ้น Mr. Roots: ก่อนมาแปรรูปกาแฟ อาเทนทำอะไรมาก่อน อาเทน : ผมจบสาขาออกแบบมัลติมีเดีย คณะคณะศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา จบออกมาก็ทำอาชีพ freelance graphic designer ในเมืองเชียงใหม่อยู่ 4 ปี ลักษณะงานคือรับออกแบบกราฟิก ปั้นโมเดลสามมิติ ระหว่างที่เรียนหรือทำงานกราฟิกก็ถูกปลูกฝังเรื่องการทำร้านกาแฟมาเรื่อยๆ เพราะบ้านของเจ๊ที่ผมอาศัยอยู่ด้วยตั้งแต่ตอนเรียนเขาทำร้านกาแฟอินทนินท์ เขาก็สอนงาน ให้เริ่มงานตั้งแต่เป็นคนกวาดร้าน คนเสิร์ฟ แล้วก็ส่งไปเทรนด์เป็นบาริสต้า กลับมาก็ได้ทำหมดเลย เหมือนเป็นผู้จัดการร้าน Mr. Roots: อะไรคือเหตุผลที่ทำให้อาเทนสนใจเรื่องกาแฟอย่างจริงจัง อาเทน : ตอนเรียนปี 3 ผมกลับมาที่บ้าน พ่อบอกผมว่าบ้านเรามีกาแฟนะ […]

PRODUCER

พี่โสภา

Mr. Roots: ก่อนจะมาแปรรูปกาแฟ พี่โสภาทำงานอะไรมาก่อน พี่โสภา: พี่เคยทำงานในโรงงานผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ส่งให้บริษัทญี่ปุ่น ทำอยู่ 2 ปี ก่อนจะตัดสินใจย้ายกลับมาบ้านเกิด Mr. Roots: ที่อมก๋อยมีอะไรที่พี่ชอบบ้าง พี่โสภา: แรกเลยนี่พี่มาจากอมก๋อยอยู่แล้ว ก็เลยรักที่นี่มาก พอเราอยู่มาตั้งแต่เด็ก เราก็เลยเห็นผืนป่าบางส่วนที่เคยสวยงามและอุดมสมบูรณ์ ค่อยๆ เปลี่ยนเป็นพื้นที่แห้งแล้ง พี่ก็เลยหันมาปลูกกาแฟ เหตุผลหนึ่งก็เพราะอยากทำให้อมก๋อยกลับไปเป็นอมก๋อยที่ปกคลุมด้วยสีเขียวของป่าไม้อีกครั้ง Mr. Roots: อะไรคือเหตุผลที่ทำให้พี่หันมาสนใจเรื่องกาแฟ พี่โสภา: พี่คิดอยู่นานนะว่าอยากทำงานที่ทำให้พี่ได้ใกล้ชิดกับธรรมชาติมากขึ้นและเป็นอาชีพที่ไม่ทำลายธรรมชาติด้วย แล้วก็มีใครสักคนแนะนำพี่ว่า ลองปลูกกาแฟในป่าดูสิ พี่เลยเริ่มปลูกตอนปี 2551 โชคดีมากที่อมก๋อยเป็นพื้นที่ที่เหมาะกับการปลูกกาแฟอยู่แล้ว ซึ่งกาแฟดีๆ ที่พี่ปลูกได้ตลอดหลายปีมานี้ ก็ต้องยกความดีความชอบทั้งหมดให้กับสภาพแวดล้อมที่นี่ พอมาปลูกกาแฟ พี่ก็เห็นว่ากาแฟส่งผลดีต่อชีวิตของชาวบ้านที่อมก๋อยด้วย กาแฟช่วยให้ความเป็นอยู่ของชาวบ้านดีขึ้น ทำให้พวกเขามีรายได้มากพอที่จะส่งลูกไปโรงเรียน นั่นจึงเป็นเหตุผลว่าทำไมพี่ถึงตั้งเป้าหมายว่าจะต้องทำให้กาแฟจากอมก๋อยคุณภาพดีที่สุดให้ได้ พี่หาข้อมูลเรื่องนี้เยอะ ทั้งอ่าน ทั้งศึกษาจากคลิปวิดีโอของต่างประเทศ บางครั้งก็แวะไปคุยกับร้านกาแฟในท้องถิ่น เพื่อจะได้รู้ข้อมูลและขอคำแนะนำเพื่อทำให้กลิ่นและรสของกาแฟดีขึ้นพี่อยากให้แน่ใจว่า เราผลิตกาแฟคุณภาพดีที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพื่อให้กาแฟของเราได้ราคาดี เพราะถ้าเราตั้งราคาต่ำเกินไป มันก็จะจูงใจชาวบ้านให้มาปลูกกาแฟได้ยาก Mr. Roots: พี่โสภามองภาพตัวเองในอีก 5 ปีข้างหน้าไว้แบบไหน พี่โสภา: […]

FARMER

พี่ศรี

Mr. Roots: ก่อนจะมาปลูกกาแฟ พี่ศรีทำอะไรมาก่อน พี่ศรี: พี่ศรีเคยทำงานรับจ้างมาก่อน แต่หลังจากที่พี่ศรีเก็บเงินได้ก้อนหนึ่งก็หันมาปลูกชา ปลูกเมี่ยงแทน จนมาถึงปลูกกาแฟในที่สุด ซึ่งพี่ศรีไม่เคยเสียดายที่ตัดสินใจเลือกทางนี้เลย Mr. Roots: แถวบ้านขุนลาวมีอะไรที่พี่ชอบบ้าง พี่ศรี: พี่ศรีชอบอากาศที่นี่เพราะมันสะอาดแล้วก็บริสุทธิ์ ซึ่งต้องขอบคุณผืนป่าแถวนี้ที่ยังไม่มีใครรุกล้ำเลยทำให้อากาศดีมาก นอกจากอากาศแล้ว พี่ศรียังชอบที่ทุกคนในหมู่บ้านอยู่กันเหมือนเป็นครอบครัว คอยช่วยเหลือซึ่งกันและกัน Mr. Roots: อะไรที่ทำให้พี่เริ่มหันมาสนใจเรื่องกาแฟ พี่ศรี: ก่อนหน้านี้เจ้าหน้าที่ของโครงการหลวงเคยมาที่หมู่บ้านของเราและสนับสนุนให้พวกเราปลูกไม้ดอก รวมถึงจุดประกายเรื่องปลูกกาแฟด้วย ครั้งนั้นเจ้าหน้าที่ให้เมล็ดกาแฟเอาไว้ให้ลองปลูก ในตอนแรกการปลูกกาแฟเป็นเรื่องยากนะเพราะกาแฟขายได้ราคาน้อย แค่ประมาณ 50-70 บาท/กก. แต่พี่ศรียังอยากพยายามก็เลยทำต่อไปเรื่อยๆ จนขายได้ในราคา 80-100 บาท/กก. พอหมู่บ้านอื่นๆ เห็นความเป็นไปได้ที่จะปลูกกาแฟไทย เขาก็เริ่มหันมาปลูกกาแฟกันเพิ่มขึ้น สำหรับพี่ศรี การปลูกกาแฟไม่ใช่งานยากหรือกิจวัตรที่ต้องทำ แต่เป็นเรื่องของความหลงใหลที่พี่มีต่อมัน พี่ศรีชอบที่พี่ศรีสามารถปลูกกาแฟและยังปลูกเมี่ยงไปด้วยได้ พอเมี่ยงพร้อมให้เก็บ เมล็ดกาแฟก็มักจะได้ที่พอดี พี่ว่าพืชทั้งสองอย่างมีความสัมพันธ์กัน แล้วพี่ศรีก็สนุกกับการปลูกทั้งสองอย่างเลย Mr. Roots: กาแฟมีความหมายกับพี่ศรีอย่างไรบ้าง พี่ศรี: กาแฟช่วยให้ชีวิตพี่ศรีดีขึ้นในหลายๆ เรื่อง นอกจากช่วยให้พี่ศรีมีรายได้มากขึ้นแล้ว ยังทำให้มีอาชีพที่มั่นคง พี่ศรีภูมิใจที่ตัวเองเป็นคนปลูกกาแฟและไม่เคยเสียใจเลยที่ตัดสินใจมาปลูกกาแฟ Mr. […]

PRODUCER

ฟูอาดี้ พิศสุวรรณ และ
เจน กิตติรัตนไพบูลย์

Mr. Roots: ก่อนจะมาทำกาแฟ คุณทำอะไรมาก่อน ฟูอาดี้: ผมอยู่สายนักวิชาการมาก่อน แต่เริ่มสนใจเรื่องกาแฟเมื่อ 7 ปีก่อนช่วงที่เรียนอยู่ที่อเมริกา ช่วงอยู่ที่นั่นเป็นช่วงที่ทำให้ผมได้ลองกาแฟพิเศษตามร้านต่างๆ แล้วก็สงสัยว่าทำไมถึงไม่เคยเห็นเมล็ดกาแฟจากไทยตามร้านที่ไปเลย ความสงสัยและความรู้สึกอยากสนับสนุนของไทยนำผมไปสู่การตามหากาแฟไทยในเชียงรายและเชียงใหม่ที่มีคุณภาพดี ด้วยความหวังว่าจะสามารถส่งออกกาแฟเหล่านั้นไปยังตลาดของกาแฟพิเศษทั่วโลกได้ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ผมคงไม่สามารถทำตามเป้าหมายนี้ได้ถ้าขาดพาร์ทเนอร์ที่มีแพสชันเรื่องกาแฟในระดับเดียวกัน และสามารถประจำที่อยู่ที่เชียงใหม่กับเชียงราย เพราะทั้งสองจังหวัดนี้เป็นแหล่งผลิตกาแฟอราบิก้าที่ใหญ่ที่สุดในเมืองไทย ซึ่งพาร์ทเนอร์ที่ร่วมก่อตั้ง Beanspire กับผมตั้งแต่แรกก็คือ เจน กิตติรัตนไพบูลย์ ผมรู้จักเขาตั้งแต่สมัยเรียนอยู่ที่อเมริกาด้วยกัน เจนเป็นคนเชียงรายโดยกำเนิดและใช้ชีวิตอยู่ที่เชียงราย เจนกับผมเริ่มต้นทำ Beanspire ด้วยกันในปี 2014 ถ้าเทียบจากงานที่ทำแล้ว งานส่วนที่เจนรับผิดชอบเป็นส่วนที่สำคัญกว่า เพราะหน้าที่ของผมคือการทำงานร่วมกับเกษตรกรที่ปลูกกาแฟในฤดูเก็บเกี่ยว และขายกาแฟเหล่านี้ให้คนคั่วกาแฟทั้งในไทยและต่างประเทศ ในขณะที่เจนรับผิดชอบงานส่วนที่เหลือทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นคัดแยกเมล็ดกาแฟและเตรียมเมล็ดกาแฟให้พร้อมสำหรับการส่งไปถึงมือลูกค้าและส่งออก Mr. Roots: ภูมิภาคนี้มีอะไรที่คุณชอบบ้าง ฟูอาดี้: ภาคเหนือเป็นภาคที่พิเศษสำหรับผม อย่างที่เล่าให้ฟังว่าแบ็กกราวนด์ของผมมาทางสายวิชาการและจบด้านรัฐศาสตร์มา ซึ่งถ้าคุณติดตามข่าวการเมืองไทย คุณจะรู้ว่าคนเหนือมีความเห็นเรื่องการเมืองต่างจากคนในกรุงเทพฯ และคนใต้ ความเห็นต่างทางการเมืองค่อนข้างรุนแรงมากจนนำไปสู่ความตึงเครียดที่ยังคงเป็นอยู่จนทุกวันนี้ ผมเกิดที่ภาคใต้และโตในกรุงเทพฯ ซึ่งถ้าวัดจากภูมิลำเนาที่เกิดและที่โตแล้ว ผมก็ควรจะมีความเห็นทางการเมืองตรงกันข้ามคนจากภาคเหนือ แพสชันในเรื่องกาแฟที่ผมและเพื่อนเกษตรกรที่ปลูกกาแฟมีร่วมกันเป็นสะพานในการแก้ความเข้าใจผิดและทำให้เส้นแบ่งระหว่างความแตกต่างทางการเมืองจางลงไป เพราะฉะนั้นถ้าถามผมว่าทำไมถึงชอบภาคเหนือ คำตอบก็คือนอกเหนือไปจากเรื่องความแตกต่างแล้ว ภาคเหนือยังเป็นแหล่งผลิตกาแฟที่ทำให้ผมได้เชื่อมโยงกับผู้คนในแบบที่ผลผลิตชนิดอื่นๆ ทำไม่ได้ Mr. Roots: คุณเริ่มสนใจกาแฟอย่างจริงจังตั้งแต่เมื่อไร […]

PROCESSOR

พี่โอ๋และพี่โจ้

Mr. Roots: ก่อนจะมาปลูกกาแฟ พี่โอ๋และพี่โจ้ทำงานอะไรกันมาก่อน พี่โอ๋: เราสองคนเคยทำสวนยางที่ภาคใต้ ก่อนจะย้ายมาอยู่ที่แม่กำปองเมื่อ 10 ปีที่แล้ว ตอนมาใหม่ๆ เราตื่นตาตื่นใจกับความสมบูรณ์ของธรรมชาติและบรรยากาศสบายๆ ของที่นี่ ซึ่งทำให้เราตกหลุมรักที่นี่ได้ไม่ยาก ตอนแรกเราไม่ได้คิดว่าจะอยู่ที่นี่นาน พอหลายเดือนผ่านไป เราก็เริ่มถามชาวบ้านว่าคนที่นี่เขาทำมาหากินอะไร ก็เลยได้รู้ว่าชาวบ้านส่วนใหญ่ปลูกกาแฟกับทำเมี่ยงขาย เราเลยลองชิมกาแฟของที่นี่ดู ซึ่ง ณ ตอนนั้นก็ว่าใช้ได้แล้วนะ แต่ชาวบ้านที่นี่ยังอยากจะพัฒนาคุณภาพให้ดีขึ้นอีก นั่นเลยเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้เราหันมาจับเรื่องกาแฟอย่างจริงจังและทำงานร่วมกับเกษตรกรรุ่นใหม่ที่ปลูกกาแฟที่นี่ Mr. Roots: แถวนี้มีอะไรที่พี่สองคนชอบบ้าง พี่โอ๋: เราชอบอากาศ ชอบความเงียบสงบของที่นี่ ชอบจังหวะการใช้ชีวิตที่ไม่เร่งรีบของคนในหมู่บ้าน สมัยที่อยู่กรุงเทพฯ เราสองคนเคยมีชีวิตที่เร่งรีบมาก่อน พอมาเจอที่นี่ก็เลยประทับใจกับวิถีชีวิตช้าๆ สบายๆ ของแม่กำปอง แล้วคนที่นี่เขารักในสิ่งที่ทำนะ เขาภูมิใจด้วยที่หมู่บ้านของเขาเป็นที่รู้จักในฐานะแหล่งผลิตกาแฟชั้นดี Mr. Roots: พี่โอ๋และพี่โจ้เริ่มสนใจเรื่องกาแฟอย่างลงลึกตั้งแต่เมื่อไหร่ พี่โอ๋: ช่วง 2 ปีแรกหลังจากที่เราย้ายมาอยู่ที่นี่ เราเริ่มหาข้อมูลและลองผลิตกาแฟของเรากันเอง เริ่มจากล็อตเล็กๆ ก่อน จากนั้นในปีต่อมา คือปี 2553 เราเริ่มทุ่มเทเวลาให้กับกาแฟมากขึ้น เพื่อจะทำให้มันดีกว่าเดิม แล้วก็ทำมาจนถึงทุกวันนี้ ซึ่งเราภูมิใจกับสิ่งที่เราทำมาก กาแฟของเรารสชาติดี […]

PRODUCER

เรย์ เบอร์เกอร์

Mr. Roots: ก่อนจะมาเป็นคนทำกาแฟ คุณทำงานอะไรมาก่อน เรย์: สมัยยังอยู่ที่อเมริกา งานของผมคือการรับสร้างบ้านตามสั่ง ปรัชญาในการทำงานตอนนั้นก็คือสร้างพื้นที่ที่เหมาะสมกับไลฟ์สไตล์ของแต่ละครอบครัว ซึ่งจะต้องเป็นบ้านที่ไม่ใหญ่เกินไปหรือประดิษฐ์เกินไป ด้วยความเชื่อในเรื่องของคุณภาพและความอยู่เหนือกาลเวลาของบ้านแต่ละหลัง บ้านที่ผมสร้างทุกหลังจึงเกิดขึ้นจากแพสชันในการสร้างสเปซที่ใช้งานได้อย่างราบรื่นและเข้าถึงจิตใจได้ในเวลาเดียวกัน Mr. Roots: อะไรคือเหตุผลที่ทำให้คุณตัดสินใจย้ายมาอยู่เมืองไทย เรย์: เรื่องนี้เป็นความบังเอิญ ต้องอธิบายก่อนว่า ถึงผมจะรักงานรับสร้างบ้านมากๆ แต่การทำงานเดิมติดต่อกัน 24 ปีทำให้เนื้องานกลายเป็นสิ่งที่คาดเดาได้ ผมจึงตัดสินใจขายทุกอย่างและคิดว่าจะเดินทางรอบโลก ผมใช้เวลาเดินทางไปที่นั่นที่นี่อยู่ 2 ปี ก่อนจะพาตัวเองมาอยู่บนเรือใบในดาร์วิน ประเทศออสเตรเลีย ซึ่งเรือลำนั้นมีจุดหมายปลายทางอยู่ที่ภูเก็ต ก่อนที่ผมจะรู้ว่าจะอะไรยังไงต่อดี ผมก็กลายเป็นอาสาสมัครของมูลนิธิเพื่อช่วยเหลือเด็กชาวเขามูลนิธิหนึ่งในเชียงใหม่ นั่นคือจุดที่ทำให้ผมได้รู้จักกับกาแฟไทยเป็นครั้งแรก Mr. Roots: คุณชอบอะไรในเมืองไทยบ้าง เรย์: การใช้ชีวิตในเมืองไทยเป็นส่วนผสมที่สุดเหวี่ยงระหว่างความวุ่นวายสุดๆ และความสงบ ซึ่งผมมองว่ามันเป็นความหลากหลายที่น่าสนใจ Mr. Roots: กาแฟมีความหมายกับคุณอย่างไรบ้าง เรย์: สำหรับผมแล้ว กาแฟทำให้เกิดประสบการณ์ที่กว้างขวาง ไม่ว่าจะเป็นประสบการณ์ระหว่างความแม่นยำและความคิดสร้างสรรค์ ความเป็นวิทยาศาสตร์และศิลปะ แพสชันและความเที่ยงตรง ไปจนถึงความไม่พอใจและความมุ่งมั่น เรียกได้ว่ากาแฟสร้างประสบการณ์ชีวิตที่สำคัญได้อย่างหลากหลาย Mr. Roots: คุณมองภาพตัวเองในอีก 5 ปีข้างหน้าไว้แบบไหน เรย์: […]

Thank you for subscribe

Thank you! We'll be in touch.

OKAY